เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นรหัสสุขภาพ สำหรับผู้เดินทางสัญชาติจีนและชาวต่างชาติที่จะเดินทางไปยังประเทศจีน ทางสถานกงสุลใหญ่จีนประจำเชียงใหม่ ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นขอรหัสสุขภาพ และได้จัดทำ "รวมข้อกำหนดและเงื่อนไขในการยื่นขอรหัสสุขภาพ สำหรับผู้ที่จะเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน" นี้ขึ้นมา
ผู้เดินทางสัญชาติจีนสามารถค้นหามินิโปรแกรม “รหัสสุขภาพเพื่อป้องกันโรคระบาด” ในวีแชท เพื่อยื่นขอรหัสสุขภาพ สำหรับผู้เดินทางชาวต่างชาติ สามารถเข้าสู่ระบบได้ที่เว็บไซต์ http://hrhk.cs.mfa.gov.cn/H5/ เพื่อยื่นขอรหัสสุขภาพผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อกรอกข้อมูลและอัพโหลดเอกสารต่างๆ ตามที่กำหนด
การตรวจ RT-PCR และตรวจหาแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัม แต่ละครั้ง จะต้องทำการตรวจ ณ สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่จีนในประเทศไทยเท่านั้น สำหรับรายชื่อสถานพยาบาลในเขตอาณาของสถานกงสุลใหญ่ฯ ซึ่งครอบคลุม 12 จังหวัดภาคเหนือที่ได้รับการรับรองนั้น โปรดดูที่
http://chiangmai.chineseconsulate.org/th/zlggg_1/202201/t20220128_10635978.htm
ผู้ยื่นขอรหัสสุขภาพควรยื่นส่งเอกสารในเวลาที่เหมาะสม การส่งเอกสารที่ส่งภายใน 4 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง อาจไม่ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติได้ทันเวลา ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ยื่นขอรหัสสุขภาพได้รับรหัสสุขภาพล่าช้า และอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางได้
ลำดับ | ประเภท | ข้อกำหนดในการตรวจ | เอกสารที่ใช้ยื่นขอรหัสสุขภาพ |
1 | ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายครบถ้วนแล้ว ( เช่น ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม เป็นต้น) 1. ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบถ้วนแล้ว หมายถึง ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม โดยมีระยะห่างเป็นไปตามที่กำหนดและฉีดครบ 2 เข็มเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ในกรณีที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ครบ 14 วัน จะถือว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 2. ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบแล้วเป็นเวลา 14 วันจึงจะสามารถเดินทางได้ สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว แต่ยังไม่ครบ 14 วัน แม้ว่าการตรวจร่างกายก่อนเดินทางจะเป็นไปตามข้อกำหนด ก็จะไม่สามารถยื่นขอรหัสสุขภาพได้ | 1. ตรวจ RT-PCR ครั้งแรก 7 วันก่อนการเดินทาง หากผลเป็นลบ ให้เริ่มทำการสำรวจสุขภาพตนเองและกรอกตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 2. ตรวจ RT-PCR ครั้งที่สองภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง 3. ตรวจ RT-PCR ครั้งที่สามภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง และการตรวจ RT-PCR สองครั้งหลังนี้จะต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่รับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่จีนในประเทศไทย จำนวน 2 แห่งโดยมีระยะห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง | 1. หน้าแรกของหนังสือเดินทาง 2. หลักฐานการพำนักในประเทศไทย (เช่น หน้าวีซ่า ตราประทับเข้าเมือง การลงทะเบียน 90 วัน) 3. กำหนดการเดินทาง 4. ใบรับรองการฉีดวัคซีน 5. ตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 6. ผลการตรวจ RT-PCR จำนวน 3 ครั้ง |
2 | ผู้ที่ได้รับวัคซีนที่ไม่ใช่ชนิดเชื้อตายครบถ้วนแล้ว (เช่น Pfizer, BioNTech, Moderna, CanSino, Zifivax เป็นต้น) 1. ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบถ้วนแล้ว หากได้รับวัคซีนที่ไม่ใช่ชนิดเชื้อตายเพิ่ม ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบถ้วนแล้ว 2. ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้วเป็นเวลา 14 วันจึงจะสามารถเดินทางได้ สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่ยังไม่ครบ 14 วัน แม้ว่าการตรวจร่างกายก่อนเดินทางจะเป็นไปตามข้อกำหนด ก็จะไม่สามารถยื่นขอรหัสสุขภาพได้ | 1. ตรวจ RT-PCR ครั้งแรก 7 วันก่อนการเดินทาง หากผลเป็นลบ ให้เริ่มทำการสำรวจสุขภาพตนเองและกรอกตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 2. การตรวจครั้งที่สอง จะต้องตรวจ RT-PCR พร้อมตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ต่อ N โปรตีนในซีรัม ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง การตรวจทั้งสองครั้งนี้ จะต้องดำเนินการในสถานพยาบาล 2 แห่ง (ปัจจุบันในเขต 12 จังหวัดภาคเหนือ มีเพียงโรงพยาบาลกรุงเทพ เชียงใหม่ เท่านั้นที่สามารถทำการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ต่อ N โปรตีนในซีรัมได้) | 1. หน้าแรกของหนังสือเดินทาง 2. หลักฐานการพำนักในประเทศไทย (เช่น หน้าวีซ่า ตราประทับเข้าเมือง การลงทะเบียน 90 วัน) 3. กำหนดการเดินทาง 4. ใบรับรองการฉีดวัคซีน 5. ตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 6. ผลการตรวจ RT-PCR จำนวน 3 ครั้ง และผลการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ต่อ N โปรตีนในซีรัม จำนวน 1 ครั้ง |
3 | สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน | 1. ตรวจ RT-PCR ครั้งแรก 7 วันก่อนการเดินทาง หากผลเป็นลบ ให้เริ่มทำการสำรวจสุขภาพตนเองและกรอกตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 2. การตรวจครั้งที่สอง จะต้องตรวจ RT-PCR พร้อมตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัม ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง การตรวจทั้งสองครั้งนี้ จะต้องดำเนินการในสถานพยาบาล 2 แห่ง | 1. หน้าแรกของหนังสือเดินทาง 2. หลักฐานการพำนักในประเทศไทย (เช่น หน้าวีซ่า ตราประทับเข้าเมือง การลงทะเบียน 90 วัน) 3. กำหนดการเดินทาง 4. ตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 5. ผลการตรวจ RT-PCR จำนวน 2 ครั้ง และผลการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัม จำนวน 1 ครั้ง |
4 | ผู้ที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ 1. รวมถึงผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบจากโควิด หรือมีการผลการตรวจ RT-PCR และผลการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัม ที่เป็นบวก (ยกเว้นผลบวกของแอนติบอดีที่เกิดจากการฉีดวัคซีน) 2. มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 31 มกราคม 2565 เป็นต้นไป | ผู้ที่เคยมีประวัติการติดเชื้อโควิด ควรแจ้งประวัติการรักษาและสถานะการตรวจต่อสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ตามความเป็นจริง และขอรหัสสุขภาพตามเงื่อนไขต่อไปนี้ : 1. มีใบรับรองแพทย์หรือผลการวินิจฉัยด้วยภาพ( CT สแกน หรือ ภาพถ่ายเอ็กซเรย์ของปอด)ที่ออกให้โดยโรงพยาบาลในประเทศไทย ที่ระบุว่าไม่พบความผิดปกติของปอด หรือได้รับการรักษาโรคโควิดจนหายดีแล้ว รวมถึงการตรวจ RT-PCR ที่ผลตรวจเป็นลบ โดยทั้งสองรายการนั้นต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่จีนในประเทศไทย (การเก็บตัวอย่างทั้งสองครั้งต้องมีระยะห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง) หมายเหตุ: หลังจากครบ 6 สัปดาห์ ( 42 วัน นับจากผลรายงานทั้งหมด 3 ฉบับ โดยเลือกผลการตรวจฉบับล่าสุดของการตรวจข้างต้น) หลังจากได้รับผลรายงานทั้งสามข้างต้นแล้ว สามารถเริ่มขั้นตอนการขอรับรหัสสุขภาพเพื่อเดินทางไปยังประเทศจีนได้ตามขั้นตอนด้านล่างนี้ 2. ตรวจ RT-PCR จำนวน 2 ครั้งในสถานพยาบาล 2 แห่ง และต้องมีระยะห่างของการเก็บตัวอย่างอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยที่การเก็บตัวอย่างครั้งที่สองคือ 14 วันก่อนการเดินทาง) 3. หากผลการตรวจทั้ง 2 ครั้งมีผลเป็นลบ ให้สำรวจสุขภาพตนเอง 14 วันก่อนการเดินทาง และกรอกตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 4. การตรวจก่อนเดินทาง 4.1 หากได้รับการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายครบถ้วนแล้ว ต้องทำการตรวจ RT-PCR จำนวน 2 ครั้งภายใน 72 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางตามลำดับ โดยทั้งสองครั้งนั้นต้องดำเนินการในสถานพยาบาล 2 แห่ง และ การเก็บตัวอย่างทั้งสองครั้งต้องมีระยะห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง 4.2 หากได้รับวัคซีนที่ไม่ใช่ชนิดเชื้อตายครบถ้วนแล้ว เช่น Pfizer, BioNTech, Moderna, CanSino, Zifivax เป็นต้น จะต้องตรวจ RT-PCR และตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ต่อ N โปรตีนในซีรัม ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง และผลการตรวจทั้ง 2 ครั้งนี้จะต้องเป็นลบเท่านั้น 4.3 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีและสตรีมีครรภ์ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำการตรวจ CT สแกน หรือ เอ็กซเรย์ปอด | 1. หน้าแรกของหนังสือเดินทาง 2. หลักฐานการพำนักในประเทศไทย (เช่น หน้าวีซ่า ตราประทับเข้าเมือง การลงทะเบียน 90 วัน) 3. กำหนดการเดินทาง 4. ใบรับรองการฉีดวัคซีน (ถ้ามี) 5. ใบรับรองแพทย์หรือผลการวินิจฉัยด้วยภาพ ( CT สแกน หรือ ภาพถ่ายเอ็กซเรย์ของปอด)ที่ออกให้โดยโรงพยาบาลในประเทศไทย ที่ระบุว่าไม่พบความผิดปกติของปอด หรือได้รับการรักษาโรคโควิดจนหายดีแล้ว 6. ตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 7. ผลการตรวจ RT-PCR จำนวน 4 ครั้ง 8. ผลการตรวจก่อนการเดินทาง |
5 | ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่สามที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนเครื่องไปยังประเทศจีน | สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่สามที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าระยะสั้น เช่น วีซ่าท่องเที่ยว หากประเทศต้นทางมีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศจีน สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่จีนในประเทศไทยจะไม่ออกรหัสสุขภาพให้ แต่หากประเทศดังกล่าวไม่มีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศจีน จะสามารถออกรหัสสุขภาพให้ได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้ : 1. ผู้ยื่นขอรหัสสุขภาพจะต้องโดยสารเที่ยวบินที่บินตรงมายังประเทศไทยและได้รับรหัสสุขภาพจากสถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่จีนในประเทศต้นทางแล้ว 2. เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบการเข้าประเทศไทย และมาตรการการควบคุมและป้องกันโรคระบาดที่เกี่ยวข้อง ผู้ยื่นขอรหัสสุขภาพจะต้องพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 28 วัน และ ต้องทำการตรวจ RT-PCR และ กรอกตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 14 วันก่อนเดินทาง 3. ตรวจ RT-PCR 7 วันก่อนการเดินทาง 1 ครั้ง และ 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทาง 1 ครั้ง และตรวจ RT-PCR พร้อมตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัม ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทางอีก 1 ครั้ง (หากได้รับการฉีดวัคซีนเชื้อตายครบถ้วนแล้ว จะได้รับการยกเว้นการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัมภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง) 4. สำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้กักตัว ทางสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่จีนในประเทศไทยจะไม่ออกรหัสสุขภาพให้ | 1. หน้าแรกของหนังสือเดินทาง 2. หลักฐานการพำนักในประเทศไทย (เช่น หน้าวีซ่า ตราประทับเข้าเมือง การลงทะเบียน 90 วัน) 3. กำหนดการเดินทาง 4. ใบรับรองการฉีดวัคซีน (ถ้ามี) 5. ตารางสำรวจสุขภาพตนเอง 6. ผลการตรวจ RT-PCR จำนวน 4 ครั้ง และผลการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัม จำนวน 1 ครั้ง (หากได้รับการฉีดวัคซีนเชื้อตายครบถ้วนแล้ว จะได้รับการยกเว้นการตรวจแอนติบอดี้ IgM และ IgG ในซีรัมภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง) |
6 | ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ โดยมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการโดยไม่มีการป้องกัน | เมื่อมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ควรแจ้งรายละเอียดต่อสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องกักตัวและสังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 14 วันนับจากวันที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย จึงจะสามารถยื่นขอรหัสสุขภาพได้ การยื่นขอรหัสสุขภาพจะอ้างอิงจาก ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตาย, ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดที่ไม่ใช่เชื้อตาย และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน | |
7 | บุคลากรของบริษัทหรือหน่วยงานจีนในประเทศไทย (รวมถึงกิจการส่วนกลาง กิจการของรัฐ และบริษัทเอกชน) | นอกจากสำรวจสุขภาพตนเอง 7 วันก่อนการเดินทางแล้ว ยังต้องสำรวจสุขภาพตนเองและกักตัวเป็น21 วัน (คำนวณจากวันที่ออกเดินทางลบด้วย 21 วัน) โดยห้ามสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก หากในการตรวจ RT-PCR ครั้งแรกมีเป็นผลบวกหรือมีอาการปรากฏขึ้นในระหว่างช่วงกักตัว ควรระงับการเดินทางทันที และบุคลากรที่สัมผัสใกล้ชิดควรทำเช่นเดียวกัน หากบุคลากรของบริษัทหรือหน่วยงานจีนเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อมาทำงานเป็นการชั่วคราว การเดินทางกลับประเทศจีนนั้น ก็ต้องได้รับการสังเกตตัวเองและกักตัว 7 วันก่อนการเดินทางและห้ามสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกเช่นกัน | บริษัทหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องออกหนังสือรับรองการกักตัว ซึ่งระบุ ชื่อ-สกุล หมายเลขหนังสือเดินทาง วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการกักตัว สถานที่กักตัว และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของผู้ที่จะเดินทางกลับประเทศจีน โดยหนังสือฉบับดังกล่าวจะต้องประทับตราของบริษัทหรือหน่วยงาน และอัพโหลดเมื่อยื่นขอรหัสสุขภาพ |
หนังสือยืนยันการได้รับวัคซีน.pdf